PlumX Metrics
Embed PlumX Metrics

ระบบสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์

2020
  • 0
    Citations
  • 626
    Usage
  • 0
    Captures
  • 0
    Mentions
  • 0
    Social Media
Metric Options:   Counts1 Year3 Year

Metrics Details

Thesis / Dissertation Description

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการกำหนดนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบในการสนับสนุนต่อการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจออนไลน์ขายของตกแต่งบ้านที่ทำจากหินอ่อนเป็นกรณีศึกษา เพื่อรักษาระดับการให้บริการที่ทำให้ไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการออกแบบนโยบายสั่งซื้อ สำหรับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขายจะมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองที่มีการกำหนดระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน และมีการพิจารณารอบการสั่งและทบทวนสินค้าโดยมีการจำลองข้อมูลปริมาณความต้องการของปี พ.ศ.2563 และทำการรวมข้อมูลปริมาณต้องการตามรอบการทบทวน ให้ได้ข้อมูลที่มากพอที่สามารถสรุปการแจกแจงปกติ แล้วทำการตัดสินใจเลือกรอบที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการ สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีปัจจัยในช่วงที่มีงานแสดงสินค้าส่งผลต่อยอดขายจะทำการแยกปริมาณความต้องการของสินค้าที่มียอดขายในช่วงงานแสดงสินค้า เพื่อหานโยบายการสั่งซื้อในลักษณะเดียวกับกลุ่มรายการสินค้าในช่วงที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย แต่ในช่วงที่มีการจัดงานแสดงสินค้าไม่สามารถที่จะเติมสินค้าเข้ามาในคลังได้ทันเวลา จึงเป็นนโยบายการสั่งเติมสินค้าเป็นสั่งครั้งเดียว ขั้นตอนถัดมาทำการเลือกนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสมจากการจำลองสถานการณ์ โดยจะทำการสั่งซื้อเมื่อระดับคงคลังต่ำกว่าระดับคงคลังเป้าหมาย หรือระดับ OUL (Order-up-to Level) สำหรับรายการสินค้าที่ไม่มีปัจจัยส่งผลต่อยอดขาย โดยพิจารณาด้วยปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่เหมาะสมกับรายการสินค้าแต่ละชนิด ที่ไม่ทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ย (Average Ending Inventory) สูง และไม่เกิดการเสียโอกาสในการขาย ในสำหรับรายการสินค้าที่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายนั้น เมื่อได้นโยบายสำหรับสินค้าแต่ละชนิด จะทำการสั่งเติมในปริมาณสูงสุด และในขั้นตอนสุดท้ายทำการวิเคราะห์ความคงทนของนโยบายสั่งซื้อที่เลือกเพื่อตรวจสอบอัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่า จากเดิมสำหรับระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการ (Cycle service level) 99.90% นั้น ในบางรายการจะทำให้ระดับสินค้าคงคลังสิ้นงวดเฉลี่ยสูงเกินไป เมื่อมีการลดระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายในระดับการให้บริการที่ลดลงสำหรับสินค้าแต่ละรายการพบว่า เมื่อมีการสั่งในระดับปริมาณสินค้าคงคลังเป้าหมายที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละรายการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บได้ และในส่วนทดสอบประสิทธิภาพและความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้วยการจำลองสถานการณ์ พบว่า อัตราการเติมเต็มพัสดุ และระดับการให้บริการตามรอบการสั่ง มีการรองรับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 10% โดยเฉลี่ย ซึ่งอยู่ในระดับการให้บริการ 100% ทุกรายการ แต่เมื่อปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น 20% และ 40% โดยเฉลี่ย จะไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการสำหรับสินค้าบางรายการ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย ในส่วนของปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของเดือนมกราคม ถึงเมษายน ปี พ.ศ. 2564 ได้ 100% ทุกรายการ

Provide Feedback

Have ideas for a new metric? Would you like to see something else here?Let us know