การสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย
2020
- 484Usage
Metric Options: CountsSelecting the 1-year or 3-year option will change the metrics count to percentiles, illustrating how an article or review compares to other articles or reviews within the selected time period in the same journal. Selecting the 1-year option compares the metrics against other articles/reviews that were also published in the same calendar year. Selecting the 3-year option compares the metrics against other articles/reviews that were also published in the same calendar year plus the two years prior.
Example: if you select the 1-year option for an article published in 2019 and a metric category shows 90%, that means that the article or review is performing better than 90% of the other articles/reviews published in that journal in 2019. If you select the 3-year option for the same article published in 2019 and the metric category shows 90%, that means that the article or review is performing better than 90% of the other articles/reviews published in that journal in 2019, 2018 and 2017.
Citation Benchmarking is provided by Scopus and SciVal and is different from the metrics context provided by PlumX Metrics.
Example: if you select the 1-year option for an article published in 2019 and a metric category shows 90%, that means that the article or review is performing better than 90% of the other articles/reviews published in that journal in 2019. If you select the 3-year option for the same article published in 2019 and the metric category shows 90%, that means that the article or review is performing better than 90% of the other articles/reviews published in that journal in 2019, 2018 and 2017.
Citation Benchmarking is provided by Scopus and SciVal and is different from the metrics context provided by PlumX Metrics.
Metrics Details
- Usage484
- Downloads353
- Abstract Views131
Thesis / Dissertation Description
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร จากโพสต์บนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย จำนวน 1,210 ชิ้น และการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของตราสินค้าจำนวน 3 คน เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์และรูปแบบการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรม และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 - 30 ปี จำนวน 400 คน เพื่อสำรวจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสาร ทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิด และการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลการวิจัยพบว่า ตราสินค้าผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย มีการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรม โดยใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีรูปลักษณ์แบบคนเอเชีย มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับตัวตนตราสินค้า ใช้รูปแบบชุดรูปภาพ (Carousels) ที่เสนอภาพบุคคลครึ่งตัว เห็นใบหน้าชัดเจน และแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ มีพื้นหลังของภาพเป็นบรรยากาศธรรมชาติ และโทนสีสว่างสดใส มีเนื้อหาสาระแบบให้ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ และใช้คำที่เป็นกระแสนิยมบรรยายใต้ภาพ ทั้งนี้พบว่า รูปแบบวิดีโอสั้นความยาวไม่เกิน 15 วินาที ได้รับการตอบสนองในการรับชม และมีการแสดงความรู้สึกด้วยการกดไลก์ (Like) แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาแบบชุดรูปภาพ กดสัญลักษณ์อารมณ์ (Emoji) และใช้คำพูดเชิงบวก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดเชิงบวกมาก โดยมองว่าการใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตตรงกับตราสินค้า จะทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนอินสตาแกรมของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ไทย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิด และทัศนคติต่อผู้มีอิทธิพลทางความคิดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก
Bibliographic Details
Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
Provide Feedback
Have ideas for a new metric? Would you like to see something else here?Let us know